วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผลกระทบต่อสังคมปัจจุบันของแท่นพิมพ์ Gutenberg

     โยฮันเนส เจนส์ไฟลช์ ลาเดน ซูม กูเตนเบิร์ก (Johannes Gensfleisch zur Laden Zum Gutenberg) เกิดราวปี ค.ศ. 1398 ที่เมืองไมนซ์(Mainz) ประเทศเยอรมนี 
   ในวัยเด็ก กูเตนเบิร์กติดตามบิดาไปโบสถ์เพื่อดูการพิมพ์ภาพ และเห็นว่าการแกะสลักบล็อกไม้เป็นเรื่องยากส่งผลให้หนังสือมีราคาแพงและไม่ค่อยแพร่หลาย เขาจึงใฝ่ฝันอยากสร้างเครื่องที่สามารถพิมพ์หนังสือได้รวดเร็วนับแต่นั้นมา
ราว ค.ศ. 1411 ประเทศเยอรมนีเกิดเหตุจลาจล บ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือนถูกยึด กูเตนเบิร์กพลัดถิ่นไปอยู่ที่เมืองอัลทา (Alta Villa) เข้าเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเออเฟิร์ต (The University of Erfurt) ดังที่มีชื่อปรากฏในบันทึกของมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1419 ซึ่งเป็นปีเดียวกับบิดาของเขาเสียชีวิต
หลังจากนั้น ไม่มีใครรู้ชะตากรรมของกูเตนเบิร์กอีกเลย กระทั่งพบจดหมายของเขา เมื่อเดือนมีคม ค.ศ. 1434 ว่าเขาพักแรมอยู่ที่สตาสบูร์ก (Strasbourg) ทำงานเป็นลูกจ้าในร้านตัดกระจก เขาประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และอักษรโลหะ 26 ชิ้นที่มีขนาดเท่ากันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1448 กูเตนเบิร์กเดินทางกลับเมืองไมนซ์ เพื่อยืมเงินญาติและเพื่อนมาลงทุนทำโรงพิมพ์ สุดท้ายเพื่อนชื่อโยฮันน์ ฟัสต์ (Johann Fust) ให้ยืมเงิน 800 กิลเดอร์ (Gilder)
ค.ศ. 1455 เครื่องพิมพ์กูเตนเบิร์กพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิลออกมาราว 800 เล่ม เป็นที่รู้จักกันในชื่อ’ไบเบิ้ลของกูเตนเบิร์ก’ (The Gutenburg Bible) จากผลงานครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งจากสังฆราชเมืองไมนซ์ให้เป็นมหาดเล็ก และได้รับเงินบำนาญอีกด้วย
ต่อมาปี ค.ศ. 1475 วิลเลียม แคกซ์ตัน (William Caxton) ช่างพิมพ์ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาเครื่องพิมพ์เพื่อตีพิมพ์หนังสือ Recuyell of the Histoyes of Troye นับเป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกของโลก
  ผลกระทบต่อสังคมปัจจุบัน
        แท่นพิมพ์ Gutenberg  ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของการเกิดหนังสือเลยก็ว่าได้ เพราะ โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ได้เริ่มการคิดค้นแท่นพิมพ์ขึ้นเพื่อจัดทำตัวอักษรและจะจัดทำเป็นหนังสือต่อไป และ โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ก็ได้จัดทำคัมภีร์เล่มแรกของโลกขึ้นจากการใช้แท่นพิมพ์นี้ จึงทำให้ยุคปัจจุบันมีหนังสือมากมายเกิดขึ้นไว้เพื่อศึกษาต่อไป  และแท่นพิมพ์ Gutenberg   ก็ได้มีการพัฒนาแท่นพิมพ์รุ่นใหม่ ๆ ขึ้น ในปัจจุบัน และ ส่งผลให้ในปัจจุบันมีหนังสือมากมายหลากหลายรูปแบบให้คนในปัจจุบันได้ซื้อหาหนังสือต่าง ๆ มาอ่านและหาความรู้กันต่อไป ทั้งหมดนี้เกิดจากการคิดค้นแท่นพิมพ์ของ  โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg)  ทั้งนั้นเพราะถ้าหาก โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ไม่คิดค้นเครื่องพิมพ์ตัวหนังสือขึ้นมาอาจจะทำให้ปัจจุบันการพิมพ์เป็นสิ่งที่ยากก็เป็นได้


1 ความคิดเห็น:

  1. ทำไมไม่จัดรูปแบบให้น่าอ่าน ตัวหนังสือชิดซ้ายชิดขวา กึ่งกลางบ้าง มั่วไปนะคะ
    ส่วนไหนคือ ความคิดของนักศึกษา.....ที่สั่งให้วิเคราะห์

    ตอบลบ