วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

บทประพันธ์สู่ละครโทรทัศน์ (Remake story)

บทประพันธ์สู่ละครโทรทัศน์(Remake story)

ปีกมาร
ปีกมาร
บทประพันธ์ของ นันทนา วีระชน

ปีกมาร เป็นนวนิยาย บทประพันธ์โดย นันทนา วีระชน  ที่เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มา 3 ครั้งแล้ว

ครั้งแรก สร้างเป็นภาพยนตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2530 นำแสดงโดย ยุรนันท์ ภมรมนตรี,นาถตยา แดงบุหงา,พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง
ปี พ.ศ. 2530 
เครดิต : http://www.thaifilm.com/

ครั้งที่สอง ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2537 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 นำแสดงโดย ยุรนันท์ ภมรมนตรี,สินจัย เปล่งพานิช,กษาปณ์ จำปาดิบ

ครั้งที่สาม ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์ออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2545 ทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย นิธิ สมุทรโคจร,กัญญารัตน์ จิรรัชกิจ,วรฤทธิ์ ไวยเจียรนัย
ปี พ.ศ. 2545
เครดิต :http://www.cloverdvd.com

ครั้งที่สี่  นำมาสร้างใหม่ในปี พ.ศ. 2556 โดยบริษัท เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ จำกัด นำแสดงโดย ศรราม เทพพิทักษ์, อรจิรา กุลดิลก, ภาคิน คำวิลัยศักดิ์, อรรครัฐ นิมิตรชัย และ มนชนก แสงฉายเพียงเพ็ญ กำกับการแสดงโดย กิตติ บุญสกุลศักดิ์ ปีกมารออกอากาศ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวัน พุธ - พฤหัสบดี เวลา 20.10 - 21.40 น. เริ่มตอนแรกวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556
  
ปี พ.ศ. 2556
เครดิต : http://www.theemptyzone.com

 เรื่องย่อ

                ศลัยลาสาวนักโบราณคดีพบรักกับภูฉายนายธนาคารหนุ่มอนาคตไกล แม้จะคบกันไม่นานแต่ทั้งคู่ก็ตกหลุมรักกันและกันอย่างลึกซึ้ง จนในที่สุดภูฉายและศลัยลาตกลงที่จะแต่งงานกัน ภูฉายพาศลัยลาไปพบกับสลักแม่ของเขา แต่ทั้งคู่กลับเจอสลักกำลังอาละวาดใส่พ่อของภูฉายซึ่งทิ้งครอบครัวไปตั้งแต่เขายังเด็ก สลักโกรธแค้นพ่อของภูฉายมากที่ทอดทิ้งเธอกับลูกไป จนทำให้สลักกลายเป็นคนมีอาการทางจิตชอบเรียกร้องความรักความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภูฉาย ยิ่งสลักได้รู้ว่าภูฉายจะแต่งงานกับศลัยลาก็ยิ่งเพิ่มความรักความหวงภูฉายมากขึ้น ฝ่ายศลัยลาที่ได้เห็นสภาพจิตที่ไม่ปกติของสลักก็ตกตะลึง แต่เธอก็ยังยืนกรานจะแต่งงานกับภูฉาย ท่ามกลางเสียงคัดค้านของนวลนภาและภาษิต แม่และน้องชาย รวมทั้งเพียรภมรทนายความสาวเพื่อนรุ่นน้องของศลัยลาที่เป็นโรคเกลียดผู้ชายขึ้นสมอง
                ในขณะที่ชีวิตคู่ของภูฉายกับศลัยลากำลังดิ่งลงเหว ศลัยลาก็พบว่าตัวเองตั้งท้อง ทำให้สลักยิ่งอิจฉาศลัยลาจึงพยายามเรียกร้องความสนใจจากภูฉายมากขึ้น จนในคืนที่ศลัยลาคลอดลูก ภูฉายก็ถูกสลักดึงตัวไว้จนไม่ได้ไปหาศลัยลา สลักกลัวภูฉายจะทิ้งตนไปสนใจแต่ศลัยลากับลูก จึงพูดเกลี้ยกล่อมจนภูฉายยอมยกลูกให้เลี้ยง ศลัยลาเสียใจมากที่ภูฉายยอมตามใจสลักจนครอบครัวแตกแยก เธอจึงตัดสินใจขอหย่าขาดจากภูฉาย  แต่ภูฉายไม่ยอมและขอให้ศลัยลาคิดทบทวนอีกครั้ง ในขณะที่สลักกลับคอยยุยงให้ภูฉายหย่ากับศลัยลา
                 ระหว่างที่ศลัยลาแยกกันอยู่กับภูฉาย เธอก็ถูกส่งตัวไปทำงานที่แหล่งขุดค้นวัตถุโบราณแถบภาคอีสาน ทำให้เธอได้พบกับลายสือนักศึกษาโบราณคดีเพื่อนสนิทของภาษิต เมื่อลายสือได้เจอกับศลัยลาครั้งแรกก็สะดุดตาทันทีโดยที่ไม่รู้ว่าเธอคือพี่สาวของภาษิต ด้วยความที่ลายสือขาดแม่ตั้งแต่ยังเด็กและถูกพัลลพพ่อของเขาทิ้งไปมีครอบครัวใหม่ ทำให้ลายสือตกหลุมรักความเป็นผู้ใหญ่ อบอุ่นและพึ่งพาได้ของศลัยลา 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการ Remake ละคร

                การนำละครเก่าในอดีตมาทำใหม่หรือเรียกว่าการ Remake นั้น ดิฉันมีความคิดเห็นว่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจไปอีกแบบหนึ่ง เพราะละครบ้างเรื่องที่นำมาเสนอในยุคนี้ดิฉันก็ไม่ทันได้ดู และการที่ผู้จัดจะนำเสนอเรื่องเก่ามาทำใหม่นั้นดิฉันก็คิดว่ามันคงเป็นเรื่องยากที่จะจัดทำขึ้น เพราะ ผู้จัดต้องคำนึงว่า หากจะเสนอรูปแบบเดิมๆก็จะทำให้น่าเบื่อและไม่น่าสนใจ ซึ่งหากผู้ชมที่เคยดูละครเรื่องเหล่านั้นมาแล้วก็จะนำไปเปรียบเทียบกับกับยุคก่อนๆว่าเป็นอย่างไร และที่สำคัญการที่จะนำละครมาทำใหม่นั้นต้องจัดทำให้เข้ากับยุคสมัยนั้นๆด้วยถึงจะทำให้ละครมีความน่าสนใจ

เครดิต :  http://pantip.com/topic/30909239



นักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิตอล



นักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิตอล

พ่อแม่ยุคดิจิตอล

     ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารมีการพัฒนาไปมากทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปรับสื่อสมัยใหม่มากขึ้นทิ้งสื่อดั้งเดิมไว้เป็นทางเลือก โดยเฉพาะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ กระทั่งสื่อดาวเทียม ที่กำลังเข้ามามีบทบาทแทนสื่อหลัก

                                หากจะกล่าวถึงวิชาทางด้านนิเทศศาสตร์แล้วนั้นเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการการติดต่อสื่อสาร สื่อความหมายให้กับบุคคลอื่นได้รับรู้และได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่เราต้องการที่จะสื่อสาร เพราะการสื่อสารถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญแก่การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์เราและยังนับได้ว่าบทบาทของนักนิเทศศาสตร์ ได้ขยายวงในการทำงานในสังคมที่มากกว่าเดิม ทั้งงานด้านราชการ เอกชน องค์กรสื่อ เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงแต่นักนิเทศศาสตร์ที่เรียนจบมาแล้วได้ทำงานเฉพาะด้าน นักข่าว นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ เท่านั้น ซึ่งในยุคดิจิตอลนี้ต้องให้นักศึกษาที่เรียนมาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการ Workshop  มากขึ้น กระตุ้นการแสดงออก เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติงานจริง เสริมทักษะ และความเชี่ยวชาญ ทั้งงานด้านการประชาสัมพันธ์ การโฆษณา วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสารมวลชน  เรียนรู้ทางด้านธุรกิจ การตลาดและการแข่งขัน รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพให้เป็นผู้ประกอบการด้วยตัวเองให้มากขึ้น  เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพให้ดียิ่งขึ้นสมกับเป็นยุคดิจิตอล
              และหากจะกล่าวถึงนักนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิตอลนั้นต้องมีการให้ข้อมูลที่เที่ยงตรงและแม่นยำ เพราะสังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมที่ข่าวหรือข้อมูลเผยแพร่ไปไวกว่าจรวดซะอีก หากบุคคลอื่นได้รับข่าวสารที่ไม่ถูกต้องก็จะทำให้เราเป็นผู้สื่อสารที่ไม่ได้เรื่องหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นนักนิเทศศาสตร์ที่ไม่มีความรู้ที่แท้จริง ฉะนั้นหากต้องการที่จะเป็นนักนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิตอลแล้วต้องมีความรู้ ความสามารถ และต้องมั่นคอยพัฒนาความรู้ และ ศักยภาพ ของตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะได้เป็นนักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิตอลอย่างแท้จริง 

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผลกระทบต่อสังคมปัจจุบันของแท่นพิมพ์ Gutenberg

     โยฮันเนส เจนส์ไฟลช์ ลาเดน ซูม กูเตนเบิร์ก (Johannes Gensfleisch zur Laden Zum Gutenberg) เกิดราวปี ค.ศ. 1398 ที่เมืองไมนซ์(Mainz) ประเทศเยอรมนี 
   ในวัยเด็ก กูเตนเบิร์กติดตามบิดาไปโบสถ์เพื่อดูการพิมพ์ภาพ และเห็นว่าการแกะสลักบล็อกไม้เป็นเรื่องยากส่งผลให้หนังสือมีราคาแพงและไม่ค่อยแพร่หลาย เขาจึงใฝ่ฝันอยากสร้างเครื่องที่สามารถพิมพ์หนังสือได้รวดเร็วนับแต่นั้นมา
ราว ค.ศ. 1411 ประเทศเยอรมนีเกิดเหตุจลาจล บ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือนถูกยึด กูเตนเบิร์กพลัดถิ่นไปอยู่ที่เมืองอัลทา (Alta Villa) เข้าเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเออเฟิร์ต (The University of Erfurt) ดังที่มีชื่อปรากฏในบันทึกของมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1419 ซึ่งเป็นปีเดียวกับบิดาของเขาเสียชีวิต
หลังจากนั้น ไม่มีใครรู้ชะตากรรมของกูเตนเบิร์กอีกเลย กระทั่งพบจดหมายของเขา เมื่อเดือนมีคม ค.ศ. 1434 ว่าเขาพักแรมอยู่ที่สตาสบูร์ก (Strasbourg) ทำงานเป็นลูกจ้าในร้านตัดกระจก เขาประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และอักษรโลหะ 26 ชิ้นที่มีขนาดเท่ากันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1448 กูเตนเบิร์กเดินทางกลับเมืองไมนซ์ เพื่อยืมเงินญาติและเพื่อนมาลงทุนทำโรงพิมพ์ สุดท้ายเพื่อนชื่อโยฮันน์ ฟัสต์ (Johann Fust) ให้ยืมเงิน 800 กิลเดอร์ (Gilder)
ค.ศ. 1455 เครื่องพิมพ์กูเตนเบิร์กพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิลออกมาราว 800 เล่ม เป็นที่รู้จักกันในชื่อ’ไบเบิ้ลของกูเตนเบิร์ก’ (The Gutenburg Bible) จากผลงานครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งจากสังฆราชเมืองไมนซ์ให้เป็นมหาดเล็ก และได้รับเงินบำนาญอีกด้วย
ต่อมาปี ค.ศ. 1475 วิลเลียม แคกซ์ตัน (William Caxton) ช่างพิมพ์ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาเครื่องพิมพ์เพื่อตีพิมพ์หนังสือ Recuyell of the Histoyes of Troye นับเป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกของโลก
  ผลกระทบต่อสังคมปัจจุบัน
        แท่นพิมพ์ Gutenberg  ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของการเกิดหนังสือเลยก็ว่าได้ เพราะ โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ได้เริ่มการคิดค้นแท่นพิมพ์ขึ้นเพื่อจัดทำตัวอักษรและจะจัดทำเป็นหนังสือต่อไป และ โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ก็ได้จัดทำคัมภีร์เล่มแรกของโลกขึ้นจากการใช้แท่นพิมพ์นี้ จึงทำให้ยุคปัจจุบันมีหนังสือมากมายเกิดขึ้นไว้เพื่อศึกษาต่อไป  และแท่นพิมพ์ Gutenberg   ก็ได้มีการพัฒนาแท่นพิมพ์รุ่นใหม่ ๆ ขึ้น ในปัจจุบัน และ ส่งผลให้ในปัจจุบันมีหนังสือมากมายหลากหลายรูปแบบให้คนในปัจจุบันได้ซื้อหาหนังสือต่าง ๆ มาอ่านและหาความรู้กันต่อไป ทั้งหมดนี้เกิดจากการคิดค้นแท่นพิมพ์ของ  โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg)  ทั้งนั้นเพราะถ้าหาก โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ไม่คิดค้นเครื่องพิมพ์ตัวหนังสือขึ้นมาอาจจะทำให้ปัจจุบันการพิมพ์เป็นสิ่งที่ยากก็เป็นได้


วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชีวิตเด็กใหม่


              ชีวิตเด็กใหม่ ผู้เขียนได้เขียนขึ้นเพื่อเล่าประสบการณ์และการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของน้องใหม่หรือที่ใครๆเรียกว่า เฟรชชี่ ซึ่งเรียงความเรื่องเล่าจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้พบเจอมากับตัวเองโดยผ่านเรียงความเรื่องนี้
ดิฉันเป็นเด็กนักเรียนธรรมดาๆคนหนึ่งที่มีความใฝ่ฝันที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและมีความต้องการที่จะใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเหมือนเด็กนักเรียนคนอื่น และเมื่อดิฉันได้ก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยแล้วนั้นดิฉันก็ได้พบว่า การเปลี่ยนจากนักเรียนมาเป็นนักศึกษานั้นมันไม่ง่ายเลย พราะการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ความเป็นอิสระในการเรียน และความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วงแรกๆดิฉันอาจจะยังปรับตัวไม่ทัน ไม่ว่าจะเรื่องเวลาของการเรียน และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆซึ่งดิฉันต้องแบ่งเวลาระหว่างการเรียนกับการทำกิจกรรมให้มันลงตัวที่สุด ซึ่งกิจกรรมต่างๆที่ดิฉันได้เข้าร่วมนั้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมของมหาวิทยาลัย กิจกรรมของคณะ กิจกรรมต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งใหม่สำหรับดิฉันและมันอาจจะทำให้ดิฉันหลงระเริงไปกับมันได้มากเลยทีเดียว และสิ่งใหม่ๆเหล่านี้มันทำให้ฉันได้รู้จักรุ่นพี่ ได้รู้จักเพื่อนใหม่ และ ได้รู้ถึงพิธีการต่างๆที่รุ่นพี่ได้จัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องมีความรักใคร่กลมเกลียวละเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งบ้างครั้งกิจกรรมเหล่านี้มันจะทำให้ฉันเหนื่อยบ้าง เบื่อบ้าง แต่ก็ถือว่าคุ้มแล้วกับการที่รุ่นพี่จัดกิจกรรมแบบนี้ขึ้นเพราะถ้าหากดิฉันมีปัญหาในเรื่องการเรียนหรือไม่เข้าใจในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับกิจกรรมก็จะมีรุ่นพี่ให้คำปรึกษาดิฉันได้เช่นกัน ส่วนในเรื่องการเรียนก็เช่นกันดิฉันก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนแบบใหม่ เพราะการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยนั้นมันไม่เหมือนกับตอนเรียนมัธยมเลยแม้แต่น้อย และการเรียนในระดับมหาวิทาลัยนั้นอาจารย์ส่วนใหญ่จะสอนให้เราจดตามกระดานเองหรือไม่ก็จดจากคำอธิบายจากที่อาจารย์สอนซึ่งบางวิชาอาจจะไม่มีหนังสือเรียน ฉะนั้นฉันต้องจดเองทั้งหมด ซึ่งบางครั้งดิฉันจดทันบ้างไม่ทันบ้าง รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง และบางครั้งเมื่อมีเวลาว่างดิฉันกับเพื่อนก็มาแลกเปลี่ยนความรู้กันเพื่อที่จะได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมห้องได้ด้วยเช่นกัน

การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยและการเป็นเด็กใหม่สำหรับดิฉันนั้นไม่ง่ายเลยแต่ฉันจะทำมันให้ดีที่สุด เพราะไม่ว่ามันจะยากแค่ไหนดิฉันต้องผ่านมันไปให้ได้ ดิฉันคิดว่าไม่มีอะไรยากไปเกินกว่าความตั้งใจของคนเราหรอกถ้าเรามีความตั้งใจและมีความมุ่งมั่นที่จะทำมัน และหลังจากนี้ไปดิฉันจะใช้ชีวิตในแบบเด็กใหม่ให้คุ้มค่าที่สุดและทำให้ประสบความสำเร็จเช่นกัน!!!!!!!!!!